วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

มารยาท ระเบียบ เเละข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเทอร์เน็ต
    จากปัญหาการล่อลวงที่เกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีของสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและสังคมเพื่อหลีกเลี่ยงและรับมือจากความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้ควรยึดถือไว้เป็นแม่บทของการปฏิบัติ ดังนี้
1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2.ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

คุณธรรมและจริยะธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต  ในสังคมอินเทอร์เน็ตนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดีเช่นเดียวกับสังคมทั่วไป ผุ้ใช้ที่ไม่ระมัดระวังจึงอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ผิดหรือก่อให้เกิดอันตราย ได้ ฉะนั้น วิธีหนึ่งที่จะป้องกันเยาวชนไทยจากปัญหาเหล่านี้ก็คือ การให้เยาวชนรู้จักกับศิลปป้องกันตัวในอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรจะรู้และยึดถือปฏิบัติ ดังนี้
        1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ โรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
        2. หากพบข้อความหรือรูปภาพใดๆ บนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสม ควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที อ่านเพิ่ม
                           

การใช้บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต

 อินเทอร์เน็ตช่วยให้เกิดการสื่อสารที่ไร้พรมแดนทั่วโลก ดังนั้นจึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้ในงานหลากหลายประเภท

-ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล(electronic mail หรือ   e-mail)

                เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้ระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆนอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น
                ในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับและผู้ส่ง ซึ่งเรียกว่าไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส(e-mail Address)
                สำหรับรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชื่อผู้ใช้และชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย@ คั่นระหว่าง 2 ตัวนี้เช่น

waraporn @ aksorn.com
                                                        ชื่อของผู้ใช้คือวราภรณ์      ชื่อของเครื่องบริการคือ aksorn.com
                เมื่อผู้ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปรษณีย์จะถูกเก็บไว้ที่เมลเซิร์ฟเวอร์(mail server) จนกระทั่งผู้รับมาเปิดอ่าน
               1)เว็บเมล(Web Mail) เป็นบริการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ โดยผู้ใช้สามารถสมัครลงทะเบียนในเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการได้ จากนั้นผู้ใช้จะได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสและรหัสผ่าน เพื่อเข้าใช้บริการ ซึ่งเว็บเมลส่วนใหญ่จะให้บริการโดยที่ผู้ใช้ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ อ่านเพิ่ม




 

การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต


    การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-Up  Connection)  ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลาตามที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อม อ่านเพิ่ม


การทำงานของอินเทอร์เน็ต

           เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้นั้น จะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฎและข้อตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโทคอล (protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โพโทคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต เรียกว่าทรานมิสชันคอนโทรไปรโทคอล/อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) หรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP

                                          ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

                     
  ความหมายอินเทอร์เน็ต  อินเทอร์เน็ต (Internet)  หมายถึง กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฝดดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคม สำหรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องจะต้องมีการกำหนดหรือข้อตกลงหรือวิธีการสื่อสารจึงจะต้องกำหนดหรือข้อตกลงหรือวิธีการสื่อสารจึงจะต้องกำหนดโพรโทคอลของคอมพิวเตอร์จะใช้มาตรฐานการสื่อสารที่เรียกว่า โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี  
    คอมพิวเตอร์จะมีหมายเลขไอพี (IP Address)ซึ่งประกอบด้วยชุดของตัวเลข 4 ชุด โดยมีจุดคั่นตัวเลขแต่ละชุดเช่น 123.456.20.3 การกำหนดใช้เลขฐานสิบในการอ้างอิงเครื่องยากในการจดจำจึงมีการกำหนดเป็นลักษณะคำภาษาอังกฤษสั้นๆ โดยแต่ละส่วนจะมีความหมายเฉพาะและคั่นด้วยเครื่องหมายจุด ซึ่งเรียกว่า ชื่อโดเมน (domain name

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 3  อินเทอร์เน็ตและการใช้งาน         
ตัวชี้วัด  
        -ค้าหาข้อมูล และติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อย่างมีคณธรรมและจริยธรรม  

สาระการเรียนรู้แกนกลาง

           -  ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
         -  การทำงานของอินเทอร์เน็ต
         -  การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
         -  การใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
         -  คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
         -  มารยาท  ระเบียบ  และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต